เกร็ดความรู้

การระบายอากาศในถังไซโลสำคัญอย่างไร

A: ทำไมต้องมีการระบายอากาศในถังไซโล? B: เพราะว่าเมล็ดวัตถุดิบที่จัดเก็บเช่น ข้าวโพด ข้าวเปลือก ถั่วยังมีชีวิตและมีความสามารถในการหายใจ คายน้ำ ถ้านำไปปลูกก็ยังสามารถที่จะเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้การระบายอากาศในถังไซโลยังช่วยในการป้องกัน มอด เชื้อรา ที่เกิดจากความร้อนและความชื้น A: เหตุผลที่ต้องระบายอากาศในถังไซโล? B: เหตุผลที่ต้องระบายอากาศในถังไซโล ก็เพื่อให้วัตถุดิบอยู่ในสภาพแห้ง ตามเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อให้ไม่มีเชื้อรา และแมลงที่จะเจริญเติบโต เพื่อให้จัดการความชื้นคงที่ จัดการเรื่องอุณหภูมิให้สม่ำเสมอ และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บสูงสุด แต่ทั้งนี้ การระบายอากาศของวัตถุดิบในถังไซโลนั้น ไม่ได้ทำให้คุณสมบัติของเมล็ดวัตถุดิบดีขึ้นกว่าเดิม แต่จะช่วยทำให้คุณสมบัติของเมล็ดวัตถุดิบที่เป็นอยู่ยังรักษาสภาพให้ยาวนานขึ้น A: เมื่อใดจึงต้องระบายอากาศภายในถังไซโล? B: เมื่อต้องการปรับอุณหภูมิ ภายใน / ภายนอก ไม่ให้แตกต่างกันมาก หรือปรับให้เท่ากัน (5-9 องศา) เมื่อเกิด Hot Spot ภายในถังไซโล A: วัตถุประสงค์ของการระบายอากาศภายในถังไซโล? B: เพื่อรักษายูนิฟอร์มของเมล็ดข้าวโพดให้มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง +/- 2° ถึง 5° C ระหว่าง กลางวัน/กลางคืน ในช่วง …

การระบายอากาศในถังไซโลสำคัญอย่างไร Read More »

ไซโล (SILO) คืออะไร

หากพูดถึง Feed mill หรือโรงงานผลิตอาหารสัตว์แล้ว คงไม่พูดถึงไซโลไม่ได้ เพราะไซโลถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ วันนี้เรามาทำความรู้จักไซโลว่าคืออะไร และมีหน้าที่การทำงานอย่างไร  “ไซโล” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง “สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ภายในมีระบบกันชื้นและระบายอากาศ สำหรับเก็บผลผลิตการเกษตรไว้ชั่วคราวก่อนส่งออก” หากอธิบายให้ง่ายขึ้น ไซโล คือ ถังขนาดใหญ่ใช้บรรจุธัญพืช เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง แป้ง รำข้าว เป็นต้น โดยในการเก็บวัตถุดิบปริมาณมากเช่นนี้ต้องมีการควบคุมสภาพการเก็บรักษา เช่น อุณหภูมิ และการควบคุมความชื้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อควบคุมความชื้นไม่ให้วัตถุดิบเสียหาย โดยมีการติดตั้งเครื่องลดความชื้น (grain dryer) ภายในไซโล เพื่อป้องกันเชื้อรา และ จุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรค โดยส่วนใหญ่ไซโลมีลักษณะเป็นถังทรงกลมขนาดใหญ่และมักทำจากสแตนเลส หรือเหล็กชุบ Galvanized  รูปแบบของไซโล มี 2 แบบคือไซโลแบบกรวย (hopper silo) และไซโลแบบก้นเรียบ (flat silo) ทั้งไซโลทั้งสองแบบมีหลักการทำงานคล้ายกัน และจะมีสายพาน (conveyor) …

ไซโล (SILO) คืออะไร Read More »

การทำฟาร์มปศุสัตว์ด้วยโรงเรือนระบบปิด

โรงเรือนระบบปิด (evaporative cooling system) เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนมีอุณหภูมิของอากาศค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงสัตว์มักสร้างโรงเรือนเป็นโรงเรือนเปิด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อากาศภายในโรงเรือนมีการหมุนเวียนและระบายอากาศเป็นการลดความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี โรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อุณหภูมิของโรงเรือนจะผันแปรไปตามสภาพของอากาศภายนอกโรงเรือน ช่วงหน้าร้อนอากาศ จะร้อนมาก สัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ไก่เนื้อ อาจทนอากาศร้อนไม่ไหว เพื่อหลีกเลี่ยงจากอากาศร้อนและต้องการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนจึงได้มีการคิดค้นโรงเรือนระบบปิดขึ้นโดยใช้หลักการระบายความร้อนด้วยน้ำและใช้พัดลมเป็นตัวถ่ายเทอากาศ โดยมีแผ่นรังผึ้ง (cooling pad) ที่ปล่อยน้ำไหลผ่านจนเปียกชุ่ม เมื่อเดินพัดลมซึ่งอยู่ในแนวตรงกันข้ามกับแผ่นรังผึ้งอากาศภายนอกจะถูกดูดผ่านแผ่นรังผึ้งเข้าภายในโรงเรือน ภายในโรงเรือนจะเย็นสบายโดยใช้หลักการระเหยของน้ำ นอกจากนี้โรงเรือนระบบปิดยังสามารถป้องกันโรคได้อย่างดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนก  ทั้งโรงเรือนเปิดและโรงเรือนระบบปิดก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องตัดสินใจว่าควรจะเลือกใช้โรงเรือนระบบใด แต่ในภาพรวมๆ แล้วโรงเรือนระบบปิดจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอากาศร้อน และป้องกันโรคได้ดีกว่าโรงเรือนเปิด โดยข้อดีและข้อควรพิจารณาของโรงเรือนระบบปิด มีดังนี้ ข้อดี ลดความเครียดที่เกิดจากความร้อนและทำให้ไก่สุขภาพดีขึ้น ในพ่อ – แม่พันธุ์ไก่กระทงจะให้ผลผลิตสูงขึ้น ลดอัตราการตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศร้อนจัด ใช้พัดลมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนแบบเปิด และเป็นการประหยัด ค่ากระแสไฟฟ้า สามารถใช้ร่วมกับระบบทึบแสง (dark – out) เพื่อเลี้ยงไก่พ่อ – แม่พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงเรือนแบบเปิด การหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนสม่ำเสมอมาก อากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะผ่านแผ่นรังผึ้งเข้ามาภายในโรงเรือนและระบายเอาอากาศเสียออกไปภายนอกโรงเรือนโดยพัดลมใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้น เป็นการลดปัญหาระดับแอมโมเนียในโรงเรือนได้ อัตราการเจริญเติบโตดีกว่าและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีในไก่กระทง ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ  สามารถเลี้ยงไก่ได้มากขึ้นกว่าโรงเรือนแบบเปิด เมื่อเทียบกับพื้นที่เท่ากัน …

การทำฟาร์มปศุสัตว์ด้วยโรงเรือนระบบปิด Read More »

เลื่อนไปด้านบน